วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2560

มารยาทบนโต๊ะอาหาร



 มารยาทในการรับประทานอาหาร เรื่องพื้นฐานจำให้แม่น !



          มารยาทในการรับประทานอาหาร ทั้งแบบสากลและแบบไทยแท้ ๆ มีอะไรที่เราควรทราบไว้บ้าง เพื่อจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม มาดูกันเลย

          การเรียนรู้เรื่องมารยาทในการรับประทานอาหาร ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงกระทำ และนำมาปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม เพราะนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้กับตัวเราเองแล้ว ยังเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในการรับประทานอาหารให้กับเพื่อนร่วมโต๊ะอาหารอีกด้วย วันนี้กระปุกดอทคอมจึงหยิบเอามารยาททั่วไปที่ควรปฏิบัติในการรับประทานอาหารมาฝากกันค่ะ


มารยาทในการรับประทานอาหารแบบสากล

มารยาทในการรับประทานอาหาร เรื่องพื้นฐานจำให้แม่น !


          ก่อนอื่นเราก็ต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่ามารยาทในการรับประทานอาหารแบบสากลมีอะไรบ้าง สิ่งไหนควร สิ่งไหนไม่ควรปฏิบัติขณะร่วมโต๊ะอาหารกับคนอื่น โดยเฉพาะการร่วมวงรับประทานอาหารกับชาวต่างชาติ และนี่ก็คือเคล็ดลับทั่วไปในการรับประทานอาหารตามหลักสากลที่เราควรรู้ค่ะ

         
1. ไม่ส่งเสียงดังขณะรับประทานอาหาร

         
2. ควรตักอาหารคำเล็ก ๆ ไม่เลือกตักเฉพาะอาหารที่ชอบ

         
3. อย่าบ่นเมื่ออาหารไม่ถูกปาก

         
4. ไม่ควรบังคับให้แขกรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ตัวเองอยากให้รับประทาน

         
5. พยายามพูดคุยกันบนโต๊ะอาหารบ้าง เพื่อไม่ให้โต๊ะอาหารเงียบจนเกินไป

         
6. ไม่ควรว่ากล่าวหรือนินทาใครขณะรับประทานอาหาร

         
7. ควรนั่งรับประทานอาหารด้วยท่าทางที่สง่าผ่าเผย

         
8. ไม่กระดิกเท้า หรือเคาะโต๊ะ

         
9. ไม่สูบบุหรี่ หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง

         
10. ถ้าอาหารที่ยกมาเสิร์ฟมีฝาปิด ให้เปิดฝาลงไว้ในจาน

         
11. ไม่รับประทานอาหารมูมมาม

          จะเห็นว่าหลักการรับประทานอาหารในแบบสากลที่ควรรู้นั้น ไม่ได้มีข้อจำกัดที่ยุ่งยากมากจนเกินไปอย่างที่หลาย ๆ คนกังวลกันเลย แต่มันกลับเป็นแค่ทริคง่าย ๆ ที่เราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไม่ยากเย็นเลยล่ะ


มารยาทในการรับประทานอาหารแบบยุโรป

มารยาทในการรับประทานอาหาร เรื่องพื้นฐานจำให้แม่น !


          มาดูเรื่องมารยาทในการรับประทานอาหารแบบยุโรปกันบ้าง มารยาทการรับประทานอาหารแบบยุโรปก็ไม่ได้แตกต่างออกไปจากแบบสากลมากนัก เพียงแต่เพิ่มรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เข้ามานิดหน่อยเท่านั้นเอง โดยเฉพาะเรื่องการใช้อุปกรณ์ทานอาหารที่จะมีขั้นตอนเพิ่มเข้ามา เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบจับอุปกรณ์บนโต๊ะอาหารขึ้นมาใช้ได้อย่างถูกต้อง ลองมาอ่านแล้วจดจำไปใช้กันเลยจ้า

          สำหรับอาหารยุโรป จะแบ่งการรับประทานออกเป็น 2 แบบ ตามลักษณะของกับใช้อุปกรณ์ คือ

         แบบที่ 1 แบบอเมริกัน เป็นแบบที่ใช้ส้อมด้วยมือขวา และเมื่อจะรับประทานอาหาร ต้องยกปลายส้อมขึ้นข้างบน แล้วใช้ส้อมตักอาหาร ส่วนมีดหากไม่ใช้ให้วางไว้ข้าง ๆ จาน

        
  แบบที่ 2 แบบยุโรป เป็นแบบที่ใช้ส้อมด้วยมือซ้าย และเมื่อจะรับประทานอาหาร ให้คว่ำปลายส้อมลง และถือมีดไว้ด้วยมือขวา

         
ส่วนการอุปกรณ์ในการรับประทานอาหารต่าง ๆ ที่วางอยู่บนโต๊ะ เราควรหยิบมาใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม ดังนี้

         
1. อันดับแรกควรหยิบผ้าเช็ดปากที่วางอยู่บนโต๊ะอาหารมาคลี่ออก แล้วนำมาวางไว้บนตัก เพื่อใช้ซับอาหารที่ติดปาก

         
2. ถ้าผ้าเช็ดปากตก ให้พยายามหยิบโดยไม่สร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น

         
3. ถ้ามีความจำเป็นต้องลุกจากโต๊ะอาหาร ในระหว่างที่ยังรับประทานอาหารอยู่ ให้วางผ้าเช็ดปากไว้ที่เก้าอี้

         
4. เมื่อใช้ผ้าเช็ดปากเสร็จแล้วไม่ต้องพับ ให้วางไว้บนโต๊ะด้านซ้ายมือ

         
5. ถ้าเป็นการรับประทานอาหารในแบบอเมริกัน ให้ใช้มือขวาจับส้อม และใช้มือซ้ายจับมีดหรือช้อน แต่ถ้าเป็นการรับประทานอาหารในแบบยุโรป ให้ใช้มือซ้ายจับส้อม และใช้มือขวาจับมีดหรือช้อน

         
6. ส่วนการรับประทานซุป ให้ใช้ช้อนตักซุปออกจากตัว และรับประทานซุปด้านข้างช้อน

         
7. สำหรับการใช้มีด เราควรพึงระลึกอยู่เสมอว่ามีดมีไว้ใช้หั่นอาหารเท่านั้น จึงไม่ควรใช้มีดตักหรือจิ้มอาหารเข้าปาก

         
8. แก้วน้ำให้หยิบด้านขวามือของตัวเอง อย่าเผลอไปหยิบด้านซ้าย เพราะจะทำให้โต๊ะอาหารรวนไปทั้งโต๊ะ

         
9. เมื่อเลิกใช้ช้อน ส้อม และมีดแล้ว ให้วางไว้บนจานรอง หรือจานอาหาร อย่าวางไว้บนโต๊ะเด็ดขาด

          เห็นไหมคะว่า เคล็ดลับในการรับประทานอาหารในแบบยุโรป ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับหลาย ๆ คนอีกต่อไป เพราะเพียงแค่เราจดจำรายละเอียดของการใช้อุปกรณ์บนโต๊ะอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ เอาไว้ให้ได้ แล้วนำไปบวกกับเคล็ดลับง่าย ๆ ในการรับประทานอาหารในแบบสากล เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถรับประทานอาหารยุโรปได้อย่างไม่ต้องอายใครอีกต่อไปแล้ว




มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์

มารยาทในการรับประทานอาหาร เรื่องพื้นฐานจำให้แม่น !


          ส่วนมารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราต้องจดจำเช่นกันค่ะ เพราะผู้รับประทานจะต้องช่วยเหลือตนเองในการตักอาหาร เราก็เลยหยิบเอาหลักการง่าย ๆ ในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ที่ควรปฏิบัติมาฝากกัน

         
1. ควรลุกไปตักอาหารเอง โดยยืนต่อแถว ไม่ตักอาหารเผื่อคนอื่น และอย่าตักอาหารมากจนเกินไป ถ้าไม่พอสามารถไปเติมใหม่ได้

         
2. ไม่พูดคุยขณะที่ตักอาหาร รีบตักอาหารเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ผู้อื่นได้ตักอาหารบ้าง

         
3. ตักอาหารเป็นอย่าง ๆ อย่าวางสุมทับกัน ถ้าของเป็นชิ้นควรหยิบเพียงหนึ่งชิ้น

         
4. อาหารที่ตักมาต้องรับประทานให้หมด

         
5. เมื่อรับประทานเสร็จ ต้องเขี่ยเศษอาหารในจานให้อยู่รวมกัน แล้วรวบรวมช้อนส้อมให้เรียบร้อย

         
6. ไม่ควรใส่กระดาษเช็ดมือที่ใช้แล้วลงในจาน เพราะจะทำให้ปลิว และเก็บลำบาก จึงควรใช้จานวางทับไว้

         
7. ถ้ามีข้อกำหนดให้เอาจานอาหารมาวางไว้ที่ใดที่หนึ่งเมื่อรับประทานเสร็จแล้วควรปฏิบัติตาม

         
8. อาหารหวาน ควรตักเมื่อรับประทานอาคารคาวเสร็จแล้ว

         
9. ไม่เบียดหรือแซงคิวผู้อื่น ขณะไปยืนรอตักอาหาร รอจังหวะให้ผู้อื่นตักเสร็จเสียก่อน

          สำหรับเรื่องการวางตัวในการรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ที่เรานำมาให้ดูกันนั้น สามารถนำไปใช้ในการรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ทั้งของต่างชาติและของไทยได้อย่างลงตัว เพราะไม่ว่าจะชาติไหน ๆ การเข้าคิวยืนรอตักอาหารก็ถือเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง


มารยาทในการรับประทานอาหารแบบไทย

มารยาทในการรับประทานอาหาร เรื่องพื้นฐานจำให้แม่น !

          หลังจากที่นำเสนอมารยาทในการรับประทานอาหารในแบบสากลและแบบยุโรปกันไปแล้ว ก็ขอปิดท้ายที่มารยาทในการรับประทานอาหารแบบไทยกันบ้าง ขอบอกว่าเรื่องนี้คนไทยทุกคนควรจะต้องรู้ และปฏิบัติตามให้ได้นะจ๊ะ ซึ่งการรับประทานอาหารของไทย จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ อาหารแบบตั้งโต๊ะที่มีอาหารตั้งอยู่บนโต๊ะเอาไว้แล้ว และอาหารแบบที่ค่อย ๆ ทยอยเสิร์ฟมาทีละจาน ลองมาดูกันสิว่าเราควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

         
1. ถ้าไปร่วมงานไม่ได้ ควรแจ้งให้เจ้าภาพทราบล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 1 วัน

         
2. เตรียมเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับงานที่จะไปให้พร้อม

         
3. ควรไปถึงงานก่อนงานเริ่มสัก 10 นาที ไม่ควรไปเร็ว หรือช้ากว่านั้น

         
4. ควรทักทายพบปะกับเจ้าภาพเมื่อไปถึงในงาน

         
5. ควรพยายามพูดคุยทักทายกับแขกคนอื่น ๆ ที่มาในงาน

         
6. เวลาที่นั่งโต๊ะ ควรให้แขกผู้ใหญ่นั่งก่อน แล้วเราค่อยนั่งตาม

         
7. เวลาเดินเข้าประจำโต๊ะ ผู้ชายควรช่วยขยับเก้าอี้ให้ผู้หญิงที่นั่งข้าง ๆ ก่อน

         
8. ก่อนนั่งโต๊ะควรงดสูบบุหรี่

         
9. เวลานั่งโต๊ะให้นั่งตัวตรง

         
10. อย่าอ่านหนังสือบนโต๊ะอาหาร นอกจากรายการอาหาร

         
11. นำผ้าเช็ดมือที่วางอยู่บนโต๊ะออกมาคลี่ แล้วนำมาวางบนตัก

         
12. อย่าเล่นช้อน ส้อม หรือผ้าเช็ดมือ

         
13. อย่ากางข้อศอกในเวลารับประทานอาหาร

         
14. ถ้ามีสิ่งใดตก ควรแจ้งให้คนเสิร์ฟทราบ

         
15. ต้องคอยสังเกตว่าอุปกรณ์ในการรับประทานชิ้นไหนเป็นของเรา อย่าหยิบผิด

         
16. ในระหว่างที่ทำการรับประทานอาหารอยู่ อย่าจับ หรือแต่งผม ผัดหน้า ทาปาก เด็ดขาด

         
17. ช่วยเหลือเพื่อนร่วมโต๊ะตามสมควร

         
18. อย่าเอื้อมหยิบของผ่านหน้าผู้อื่น แต่ถ้าเพื่อนร่วมโต๊ะส่งให้ก็ควรหยิบเป็นมารยาท

         
19. หากทำอะไรผิดก็ปล่อยเลยตามเลย ไม่ต้องแก้ตัว

         
20. ถือแก้วดื่มน้ำด้วยมือขวา

         
21. อย่าจิ้มฟันในขณะรับประทานอาหาร

         
22. รับประทานอาหารเสร็จควรรวบช้อนส้อมไว้คู่กัน แล้ววางไว้ในจาน

         
23. ลุกจากโต๊ะอาหารเมื่อคนอื่น ๆ อิ่มแล้ว

          และนี่ก็คือมารยาทในการรับประทานอาหารในแบบต่าง ๆ ที่เชื่อได้เลยว่าทุกคนต้องมีโอกาสได้เจอสถานการณ์เหล่านี้บ้างแน่นอน และเมื่อได้รู้แล้ว ก็อย่าลืมนำสิ่งเหล่านี้ไปปรับใช้บนโต๊ะอาหารให้เหมาะสมด้วย

  การเสริฟอาหารแบบไทยจะมี 2 ลักษณะ คือ แบบแรกจะเป็นการจัดสำรับเฉพาะคน โดยต่างคนต่างมีชุดของตนเอง ไม่เกี่ยวกับใคร เพราะสมัยโบราณคนไทยมีครอบครัวใหญ่ มีคนเยอะ ลูกเยอะ ครัวเลยต้องใหญ่ตามไปด้วย แต่จะให้กินกันแบบพร้อมหน้าพร้อมตาคงจะยาก ในครัวเลยจัดสำรับส่งไปให้ตามที่พักของแต่ละคน เมื่อรับประทานเสร็จก็เก็บมา          ลักษณะที่สอง จะเป็นแบบนั่งล้อมวงกัน โดยมีกับข้าวอยู่กลางโต๊ะ คนรับประทานจะมีจานข้าวของใครของมัน แต่กับข้าวนั้นจะตักใส่จานจนครบแล้วลงมือกิน แต่คนไทยเป็นชาติที่กินข้าวทีละคำ โดยมีการจัดวางกับข้าวที่ต้องการจะกินลงบนข้าวแล้วใช้ช้อนตักข้าวและกับนั้นด้วยปริมาณที่พอเหมาะ โดยมี “ส้อม” เป็นตัวช่วยเขี่ย แต่งให้ข้าวและกับที่ต้องการอยู่ในช้อนพอคำก่อนจะส่งเข้าปาก
          การจับช้อนส้อม ก็ไม่ต้องกำให้แน่นมาก การจับด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้เป็นหลัก โดยมีนิ้วที่เหลือเป็นตัวรองรับน้ำหนักช้อน โดยข้อศอกจะไม่ยกขึ้นมาวางบนโต๊ะซึ่งจะเหมือนกับมารยาทบนโต๊ะอาหารหลายๆ ชาติ
          เมื่อต้องการตักอาหารมาใส่จานตนเองจะใช้ช้อนกลางตัก ไม่ใช้ช้อนของตนตัก หรือถ้ามีแกงจืดที่ต้องการซดน้ำ ก็จะใช้ถ้วยแบ่งเล็กๆ ถ้าไม่มีก็ให้ใช้ช้อนกลางตักมาใส่ช้อนตัวเอง และที่สำคัญเวลาซดน้ำแกงต้องไม่มีเสียงดัง การเคี้ยวก็จะปิดปาก ไม่เคี้ยวอาหารให้มีเสียงดังแจ๊บๆ หรือพูดคุยขณะอาหารอยู่ในปาก หรืออ้าปากโดยที่ผู้อื่นมองเห็นอาหารในปาก การคายก้างหรือเศษอาหารในปาก จะคายลงช้อนก่อน แล้วนำวางไว้ที่ขอบจาน หากมีเศษอาหารที่ไม่ต้องการรับประทานหลงเหลืออยู่ในจานเมื่อรับประทานเสร็จก็ใช้ช้อนส้อมกวาดมากองไว้รวมกัน
          เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็จบด้วยการรวบช้อนและส้อมเข้าหากัน โดยวางคู่กันในจานคล้ายเลขสิบเอ็ด ซึ่งจะหมายถึงเรารับประทานเสร็จแล้ว ถ้าหากไปงานเลี้ยงแล้วพนักงานเสริฟคอยตักข้าวเติมให้ตลอด ทั้งๆที่อิ่มแล้ว ก็มองดูในจานข้าวว่าช้อนส้อมว่างยังไง

มารยาทการรับประทานอาหารแบบสากล

 งานสังคมหรืองานเลี้ยงอาหารในโอกาสต่างๆ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตประจําวันของเรา  ทั้งการ เป็นแขกรับเชิญหรือการเป็นเจ้าภาพ  ธรรมเนียมปฏิบัติของแขกรับเชิญงานรับประทานอาหารแต่ละท้องถิ่นมี ความแตกต่างกัน  แต่โดยพื้นฐานแล้วมารยาทในโต๊ะอาหารมีมาตรฐานสากล  เพื่อให้รับประทานอาหารได้ สะดวกโดยไม่รบกวนหรือทําให้ผู้ร่วมโต๊ะคนอื่นต้องขัดเขิน  จึงมีแนวทางดังนี้  ก่อนเข้าโต๊ะอาหาร - เจ้าภาพ จะทักทายกับแขก และตรวจสอบยอดแขกรับเชิญ - แขกจะได้ทักทาย พูดคุยซึ่งกันและกัน และตรวจสอบที่นั่ง ณ โต๊ะอาหารจากผังที่นั่ง - ท่านที่เป็นชายจะมีหน้าที่นําแขกสุภาพสตรีที่นั่งด้านขวา  เจ้าภาพควรหาโอกาสแนะนําให้ สุภาพบุรุษรู้จักกับสุภาพสตรีที่นั่งด้านขวา หรือหาโอกาสเข้าไปแนะนําตนเองก่อนเข้าโต๊ะอาหาร - ควรมางานเลี้ยงให้ตรงเวลาตามบัตรเชิญ  หากเป็นงานเลี้ยงที่เป็นกันเอง  การนําของฝากมาให้ เจ้าภาพนับเป็นการแสดงออกที่ดี  ของฝากอาจเป็นดอกไม้  ไวน์  ช็อคโกแลต หรืออะไรก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสม  ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินมาไม่ได้หรือมาช้าจะต้องโทรศัพท์แจ้งเจ้าภาพเพื่อให้เจ้าภาพได้แก้ปัญหาทันเวลา - เจ้าภาพ (ส่วนใหญ่เป็นเจ้าภาพชาย) เชิญให้แขกดื่ม  แขกจะเริ่มดื่มเมื่อบริกรเดินให้บริการ ซึ่ง อาจจะรับเพิ่มเติมหรือปฏิเสธตามความเหมาะสมเมื่อบริกรเวียนมาบริการอีก เจ้าภาพเชิญเข้าห้องรับประทาน อาหารควรวางแก้วและเดินเข้าไปประจําเก้าอี้ตามผัง  ไม่ควรนําแก้วเครื่องดื่มจากห้องเลี้ยงรับรองมาที่โต๊ะ อาหาร  การเข้าโต๊ะอาหาร  - แขกรับเชิญไม่ควรจะนั่งจนกว่าเจ้าภาพหญิงและแขกผู้มีเกียรติจะนั่งแล้ว หรือเจ้าภาพเชิญให้นั่ง สุภาพบุรุษควรช่วยสุภาพสตรีด้านขวาเข้านั่งก่อนที่ตนจะเข้านั่ง - ในการนั่งควรพยายามนั่งตัวตรงโดยวางมือบนตักหรือวางเบาๆ บนโต๊ะ  แต่ไม่ควรวางข้อศอกบน โต๊ะเพราะอาจเผลอกดโต๊ะพลิกได้  และยังทําให้ผู้อยู่ซ้ายและขวาพูดคุยกันไม่สะดวก - เวลานั่งโต๊ะควรเลื่อนเก้าอี้ให้ตัวชิดกับโต๊ะมากที่สุด  เพื่อจะได้ไม่ต้องก้ม  ควรนั่งหลังตรงเวลา รับประทานอาหารอาจโน้มตัวเหนือจานเล็ดน้อย - เมื่อนั่งแล้วควรหยิบผ้าเช็ดปากที่อยู่ด้านซ้ายหรือตรงกลางมาคลี่พาดบนหน้าตักโดยรอ
ปฏิบัติหลังเจ้าภาพ  ปกติผ้าเช็ดปากจะวางด้านซ้ายในงานไม่เป็นทางการ  และวางตรงกลางสําหรับงานเป็น ทางการ  ในสังคมตะวันตกมักจะมีการกล่วงขอบคุณพระเจ้าก่อนรับประทานอาหาร  การคลี่ผ้าเช็ดปากจึงควร รอจังหวะโดยดูเจ้าภาพเป็นหลัก - หลังจากกล่าวขอบคุณพระเจ้าแล้ว  ควรคลี่ผ้าเช็ดปากโดยให้อยู่ในสภาพพับครึ่งและ วางขวางบนตัก  จะไม่ใช้เหน็บเอวหรือคอเสื้อ (วิธีเช็ดปาก : คลี่มุมผ้าแยกออกจากันพอสมควรแล้วซับที่ริม ฝีปาก ใช้แล้ว พับกลับอย่างเดิมวางไว้บนตัก ผู้นั่งใกล้เคียงจะไม่เห็นรอยเปื้อนที่เราเช็ด เพราะรอยเปื้อนจอยู่ ด้านในของผ้า) ถ้าจําเป็นต้องไอหรือจาม ให้ใช้ผ้าเช็ดปากปิดปากหรือจมูก และหันหน้าออกจากโต๊ะอาหาร อย่าสั่งน้ํามูก ขากเสลดหรือบ้วนน้ําลายลงผ้าเช็ดปาก - หลังการรับประทานอาหารเสร็จสิ้น  ถ้าเป็นภัตตาคารให้วางผ้าเช็ดปากบนโต๊ะโดยไม่ ต้องพับ  ถ้าเป็นบ้านเจ้าภาพให้พับสี่และวางบนโต๊ะ  ซึ่งถือว่าสิ้นสุดการรับประทานอาหาร  ห้ามม้วนผ้าเช็ด ปากเป็นก้อนหรือขยําไว้บนโต๊ะ

อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร  อุปกรณ์ในการกรับประทานอาหารตนตก จะใช้ส้อมและมีดเป็นหลัก  ซึ่งมักจะเรียกว่าเครื่องเงิน (Silverware หรือ Flatware) เพราะเดิมจะทําจากเงิน sterling เครื่องเงินหรือช้อนส้อม มีด จะจัดวาง ตามลําดับการใช้งาน คือ ตามรายการอาหารที่จะเสริฟ ถ้าอาหารมีหลายรายการโดยหลักจะมีมีดและส้อมไม่ เกิน 3 เล่มหรือคัน หากจําเป็นต้องใช้มากกว่านั้นบริการจะนํามาเพิ่มตามความจําเป็น วิธีการใช้มีดังนี้ 1. เลือกใช้จากด้านนอกสุดของจานเข้าหาด้านใน (ทั้งซ้ายและขวา) นั่นคือสิ่งแรกที่ต้องใช้ คือ ช้อน คันนอกสุดจากด้านขวา หรือส้อมคันนอกสุดด้านซ้ายร่วมกับมีดเล่มนอกสุดจากด้าน ขวา 2. มีดและช้อน  จะอยู่ด้านขวาของจาน และส้อมจะอยู่ด้านซ้าย  ช้อนส้อมสําหรับของหวานจะวาง ถัดไปด้านบนของจาน  ซึ่งจะใช้เป็นอันดับสุดท้าย 3. เครื่องเงินควรใช้นําอาหารเข้าปาก ไม่ใช่ก้มปากมารับอาหาร อย่าแกว่งมีดส้อมขณะสนทนา  หาก ต้องใช้มือประกอบท่าทางควรวางมีดส้อมก่อน หากสงสัยถึงความเหมาะสมในการใช้อุปกรณ์ในการรับประทาน อาหารให้รอดูจากเจ้าภาพเป็นหลัก

ธรรมเนียมการใช้เครื่องเงิน  แบบอเมริกัน - จะถือส้อมในมือซ้าย  โดยคว่ําส้อมจิ้มจับอาหารให้นิ่งเพื่อใช้มีดในมือขวาตัด  เมื่อตัดอาหารเป็น คําๆ แล้ว  จะวางมีดด้านขวาหรือด้านบนของจานโดยหันคมมีดเข้ามาข้างใน  (จะไม่วางบนโต๊ะโดยเด็ดขาด)  และเปลี่ยนมาถือส้อมด้วยมือขวาให้ปลายส้อมหงายขึ้นจับด้ามส้อมด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้นิ้วกลางใน ลักษณะจับดินสอ  เพือจิ้มอมหารเข้าปาก  การจับส้อมในการหั่นอาหารจะจับคว่ําในอุ้งมือซ้ายโดยนิ้วชี้จะพาดกดไปตามก้านส้อม (ด้านหลัง) ส่วนมีดจะจับในอุ้งมือขวาและนิ้วชี้พาดไปตามด้ามมีด  นิ้วชี้จะไม่แตะบนสันมีด  วิธีจับส้อมและมีดในการหั่นนี้ จะเหมือนกันทั้งในธรรมเนียมอเมริกันและยุโรป  จะแตกต่างกันคือในแบบยุโรป จะไม่มีการสลับส้อมมาถือมือขวา  การนําอาหารเข้าปากจะใช้ส้อมในมือซ้ายเท่านั้น - ในปัจจุบันสามารถใช้ทั้งส้อมคว่ําและหงาย  นําอาหารเข้าปาก เช่น ถ้ารับประทานข้าวหรือถั่ง อาจหงายส้อมขึ้นและใช้มีดช่วยปาดอาหารให้ขึ้นไปอยู่บนส้อม   ไม่ว่ากรณีใดก็ตามจะไม่มีการใช้มีดนําอาหาร เข้าปากโดยเด็ดขาด - วิธีตัดอาหารเป็นชิ้นๆ พอดีคําไว้มากๆ แล้วใช้ส้อมจิ้มรับประทานด้วยมือขวาติดต่อกันมากๆ ใน บางโอกาสอาจจะไม่เหมาะ ควรค่อยตัด ค่อยรับประทานไปเรื่อยๆ จะเหมาะสมกว่า - ช้อน ถือในมือขวาในลักษณะเดียวกันกับส้อมในมือขวา (ยกเว้นของหวาน)   อาหารตะวันตกจะมี เฉพาะช้อนซุป  ซึ่งในการรับประทานซุป จะยกรับประทานจากข้างช้อน จะไม่นําทั้งช้อนเข้าปาก ควรยกช้อน มาที่ปากอยู่ก้มตัวให้ปากมาใกล้ชามซุป  ถ้าซุปร้อนมากอาจใช้การคนหรือเป่าเบาๆ  เวลาตักซุปควรตักออก จากตัวโดยตักที่ผิวหน้าของซุป และแตะก้นช้อนกับขอบชามซุปด้านไกลตัวเพื่อลดการหยดหรือเปรอะเปื้อน เวลานําซุปเข้าปาก  การรับประทานซุปเป็นลักษณะเทเข้าปากไม่ใช้การดูดจากช้อน  การตักซุปก้นชามให้จับ ตะแคงออกด้วยมือซ้าย  และใช้ช้อนตักตามปกติ เมื่อรับประทานซุปเสร็จแล้ว ให้ยกช้อนซุปวางไว้ที่ขอบจาน รองชามซุป - ช้อนของหวาน  มักจะมีส้อมของหวานวางคู่กันถัดไปด้านบนของจาน  ควรใช้ทั้งช้อนและส้อมใน การรับประทานของหวาน หรืออาจใช้ส้อมอย่างเดียงก็ได้  แต่ไม่ควรใช้ช้อนของหวานอย่างเดียว  สําหรับของ หวานที่เสริฟในถ้วยหรือจานเล็กๆ จะใช้ช้อนชาในการรับประทาน  ช้อนชาที่ใช้กันถ้วยชา กาแฟ  หลังจากใช้ เสร็จแล้วควรวางในจานรอง  หรืออาจวางช้อนกาแฟคว่ําบนจานขนมปังหรือจาน dinner ก็ได้ - มีดเนย จะอยู่ในจานขนมปังด้านซ้าย  และจะใช้สําหรับทาเนยบนขนมปังแต่ละชิ้นที่จะ รับประทาน  การตัดเนยจากจานกลางมาไว้บนจานขนมปัง  ให้ใช้มีดเนยใหญาในจานเนยกลาง  การทาเนยบน ขนมปังจะต้องใช้มีดเนยเท่านั้น - ส้อมสลัด  จะมาคู่กับมีดสลัด  ตําแหน่งในการวางจะขึ้นอยู่กับการจะเสริฟสลัดก่อนหรือหลัง อาหารหลัก - มีดปลา จะเป็นมีดปลายมนไม่มีสันคม เหมาะแก่การเลาะก้างปลาและรับประทานปลา

ระหว่างนั่งโต๊ะอาหาร มีข้อควรปฏิบัติและพึงระวังดังนี้ - เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว  ไม่ควรจับต้องเครื่องเงินเลนหรือพลิกจานชามเพื่อดูยี่ห้อ - สุภาพบุรุษ มีหน้าที่ดูแลคนที่นั่งด้านขวาเป็นหลัก ทั้งในการบริการส่งต่อหรือในการสนทนา  ตลอดระยะเวลาที่นั่งอยู่ในโต๊ะอาหาร  แต่ก็ไม่ควรละเลยบุคคลด้านซ้าย
- โต๊ะอาหารจะมีแก้ววางอยู่ทางขวามือ 3-4ใบ  ใบแรกจะใช้ดื่มไวน์ขาว  ใบถัดไปใช้กับไวน์แดง  ใบที่สามจะเป็นแก้วน้ําเย็นและในกรณีที่มีใบที่  4  จะเป็นแก้วแชมเปญ  การใช้แก้วหรือจัดลําดับแก้วเรียงขาก นอกเข้าในเช่นเดียวกับมีดหรือส้อม - หากต้องการเกลือ  พริกไทย  หรือของส่วนกลางที่วางอยู่บนโต๊ะแต่หยิบไม่ถึงให้ใช้วิธี  ขอให้ ส่งผ่าน  ไม่ควรใช้การเอื้อมหรือลุกขึ้นยืนหยิบ  เมื่อใช้เสร็จแล้วควรส่งต่อเวียนขวา - เครื่องเคียงทุกอย่างควรวางไว้ข้างจาน  และตักแบ่งใส่อาหารทีละคํา  จะมีเฉพาะพริกไทย  เกลือ  ที่จะโรยบนอาหารทั้งจาน  พึงหลีกเลี่ยงการขอสิ่งที่ไม่ได้เตรียมไว้บนโต๊ะ เพราะเท่ากับเป็นการต่อว่าเจ้าภาพ - อย่าเติมเครื่องปรุงก่อนชิม  เพราะเป็นการดูถูกว่ารสอาหารที่ปรุงมาไม่พอดี  ควรชิมก่อนจึงค่อย เติมเครื่องปรุงอาหาร  - อย่านําเครื่องปรุงส่วนตัว (น้ําปลา  พริกป่น) ไปในงานเลี้ยงด้วย - การรับประทานอาหารให้หมดจานเป็นการแสดงออกถึงความอร่อยของอาหารและเป็นการให้ เกียรติแก่เจ้าภาพ - ถ้ามีอาหารบางอย่างที่รับประทานไม่ได้เพราะแพ้อาหาร  ควรแจ้งเจ้าภาพหรือเลือกรับประทาน อาหารอย่างอื่นในจาน  หรือหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้  ถ้าเป็นอาหารแบบเสริฟให้ตักของที่แพ้เพียงเล็กน้อย และ ตักอย่างอื่นเพิ่มเป็นการชดเชย  การปฏิเสธ WINE  ไม่ถือว่าเป็นการผิดมารยาท - ไม่ควรคุยเสียงดังหรือคุยข้ามโต๊ะ  ควรจะคุยระหว่างคนข้างเคียง - หลังจากได้รับบริการอาหารแล้ว  อย่าส่งต่ออาหารให้ผู้อื่น  เพราะการเสริฟอาหารเป็นหน้าที่ขอ งบริกร - การดื่มน้ํา ควรใช้ผ้าเช็ดปากซับปากเสียก่อน  เพื่อป้องกันคราบอาหารติดที่ขอบแก้ว - อย่าแลกอาหารหรือแบ่งอาหารบางส่วนให้ผู้อื่นแม้จะอยู่ในโต๊ะเดียวกัน - ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันในโต๊ะอาหาร   - ไม่เรียกเครื่องดื่มที่ตนชอบมารินอีกเมื่ออาหารและเครื่องดื่มชุดนั้นผ่านไปแล้ว - กิริยาที่ไม่สุภาพในการรับประทานอาหาร  เช่น การพูดในระหว่างมีอาหารเต็มปากรับประทาน อาหารคําใหญ่เกินไป  การเรอเสียงดัง - ในระหว่างการรับประทานอาหาร  หากสุภาพสตรีด้านขวามือลุกขึ้นจากโต๊ะด้วยเหตุใดก็ตาม  สุภาพบุรุษจะต้องรีบลุกขึ้นและเลื่อนเก้าอี้ให้สุภาพสตรี  และหากมีกิจธุระจําเป็นต้องลุกจากโต๊ะ  ควรขอโทษ เจ้าภาพก่อน - การพักระหว่างรับประทานอาหารให้วางส้อมและมีดบนจานทํามุมกันประมาณ  100 องศา  โดย คว่ําส้อมและมีดหันคมไปทางซ้าย  อย่าวางกับผ้าปูโต๊ะหรือรวบส้อมมีด ซึ่งหมายถึงการอิ่มแล้ว

ลําดับการเสริฟอาหาร  การเสริฟอาหาร มีลําดับขั้นตอนคือ ขนมปังและเนย  ซุป สลัด อาหารจานหลัก ของหวาน  ชา/กาแฟ  ขนมปังและเนย  จานขนมปังอยู่ด้านซ้ายของผู้นั่งและบนจานจะมีมีดเนยสําหรับตักเนยทาขนมปังแต่ละชิ้นก่อน รับประทาน บริกรอาจจะเสริฟขนมปังเป็นรายบุคคลหรือวางตะกร้าขนมปังบนโต๊ะ  ในกรณีที่  เสริฟเป็น รายบุคคลบริกรจะนําตะกร้ามาบริการทางซ้าย  ท่านอาจจะระบุจํานวนที่ต้องการได้  ถ้าเป็นตะกร้าขนมปัง วางไว้ให้ใช้ที่คีบหรือมือหยับขนมปังมาวางบนจาน  ชิ้นใดที่จับแล้วควรหยิบมารับประทานโดยตักเนยจากจาน กลางด้วยมีดเนยกลางมาวางบนจานของตนเองแล้วจึงใช้มีดเนยของตนเองทาบนขนมปังที่ฉีกเป็นชิ้นพอดีคํา  โดยมารยาทไม่ควรนําขนมปงมาเช็ดน้ําเกรวี่หรือน้ําซอสในจานอาหารหลัก  แต่ประเทศอิตาลี การนําขนมปัง มาเช็ดซ้อสถือว่าเป็นการให้เกียรติและแสดงความอร่อยจนหยดสุดท้ายของน้ําซ้อส (พ่อครับอาจออกมากอด ขอบคุณในการให้เกียรติอย่างสูง)   ซุป  บริกรเสริฟซุปแล้วจะต้องรับประทานทันทีก่อนที่ซุปจะเย็น บริกรจะรอจนแขกคนสุดท้ายรับประทาน เสร็จแล้วจึงยกออก  พึงหลีกเลี่ยงการบิขนมปังจากจานขนมปังลงในซุป  จะมีขนมปังพิเศษที่เหมาะแก่การใส่ ลงในซุปโดยบริกรจะวางมาเป็นเครื่องเคียงในจานรองซุป  ผู้รับเชิญจะต้องรอจนอาหารแต่ละคอร์สวางตรงหน้าทุกคน  และเจ้าภาพเชิญให้เริ่มรับ ประทานจึง จะรับประทานสําหรับงานเลี้ยงใหญ่เมื่อบริกรเสริฟได้ 3-4 คน เจ้าภาพหญิงอาจเชิญให้เริ่มรับประทานได้เลย  ซุปบางประเภทเป็นซุปใสที่เสริฟถ้วยมีหูสองข้าง  สามารถจับหูทั้งสองยกรับประทานได้ให้ใช้ช้อนซุป ในการรับประทาน  ถ้าซุปเสริฟในจานใหญ่ให้วางช้อนไว้ในจานเมื่ออิ่มแล้ว  ถ้าเสริฟในถ้วยให้วางช้อนในจาน รอง

สลัด  ในงานเลี้ยงอาหารค่ําอย่างเป็นพิธีการสลัดผักจะจัดมาเป็นชุด (มีปู ปลา ไก่  กุ้ง เนื้อ)หากไม่นิยม รับประทานให้เลือกรับประทานเฉพาะผัก   เหลือที่รับประทานไม่ได้ไว้ในจาน   อาหารหลัก  (ENTREE)  หลังจากบริกรเก็บจานสลัดเรียบร้อยแล้วจะทําการเสริฟอาหารหลักเป็นจานหรือจานเปล การเสริฟ เป็นจานจะเสริฟเป็นรายบุคคล  โดยบริกรจะยกเสริฟเข้าด้านซ้าย  เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็เริ่มรับประทานได้ กรณีเสริฟปลาให้ใช้ช้อนและส้อมในในจานเปลตักปลาซึ่งหั่นเป็นชิ้นๆ มาไว้ที่จานตนเอง  สําหรับการเสริฟอาหารประเภทผักใช้ช้อนที่มีร่องตักเพื่อไม่ให้ส่วนประกอบที่เป็นของ เหลวหยดเปรอะเปื้อนตอนตักใส่จาน  กรณีอาหารหลักเป็นปลา  มีที่จัดให้จะเป็นมีดปลา ซึ่งจะวางถัดจากมีดสลัดเข้ามา

 การเติมอาหารครั้งที่สอง  ในอดีตการเลี้ยงอาหารแบบนั่งโต๊ะจะไม่มีการเติมครั้งที่สอง  แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปตามลักษณะและ ปริมาณของอาหาร  มีเจ้าภาพจํานวนมากที่เสนออาหารให้เติมครั้งที่สอง  เมื่อแขกได้รับการเสนอ  ไม่ควรอาย ที่จะตอบรับเพราะแสดงถึงความอร่อยของอาหารซึ่งถือเป็นการเยินยอเจ้าภาพ (โดยเฉพาะถ้าเจ้าภาพ ทําอาหารเอง)  แต่หากอิ่มสามารถปฏิเสธได้  ควรรวบส้อมและมีดโดยหันคมมีดไปทางซ้าย  ส้อมหงานขึ้นและ วางเป็นแนวดิ่งกึ่งกลางของจาน  บริกรจะเก็บจานจากทางขวาของผู้นั่ง  กาแฟ  การเสริฟกาแฟ  บริกรจะนําชาและกาแฟมาเสริฟ  โดยกาแฟจะอยู่ในภาชนะเงินขัดมัน  ทรงสูง (ถ้า เป็นชาจะใช้ภาชนะทรงป้อม)  การเติมน้ําตาลหรือครีมให้ใช้คีมคีบหรือช้อนตักน้ําตาล  และเทครีมใส่ถ้วยจาก ภาชนะเสริฟ  และใช้ช้อนของตนเองคนกาแฟ  ห้ามใช้ช้อนตักกาแฟมาชิมชิม เมื่อคนเสร็จแล้วให้วางช้อนชา บนจานรอง  การดื่มให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับที่หูถ้วยและยกขึ้นดื่มระวังไม่ให้มีเสียงดัง  หากร้อนเกินไปให้ คอย  อย่าเป่า  อาหารอื่นนอกจากอาหารหลัก  ธรรมเนียมแบบฝรั่งเศส  เจ้าภาพจะจัดให้เสริฟสลัดผักอยู่หลังอาหารจานหลัก  นอกจากนั้นมีอาหาร  2-3 คอร์สที่อาจจะพบในงานเลี้ยงแบบตะวนตก คือ - Hors d’oeuvre  คืออาหารเรียกน้ําย่อย  ในบางร้านอาหารเรียกว่าAPPETIZERโดยทั่วไปจะเป็น อาหารจานไม่โต และมักจะอร่อยเป็นพิเศษเพื่อเรียกน้ําย่อย  เช่น  SHRIMP  COCKTAIL,  SMOKED SALMON  OYSTERS หรือ  CLAM สด - Sorbet  หรือ Sherbetเป็นไอศกรีมผลไม้ไม่ใส่นมหรือครีม  บางครั้งปรุงรสด้วยสุราโดยทั่วไป มักจะเสริฟเป็นก้อนเล็กๆ ในถ้วยไอศรีมก่อนอาหารจานหลัก  โยมีวัตถุประสงค์เพื่อคั่นระหว่างอาหารคอร์สต่อ ไปที่จะเสริฟ  เพื่อให้มีโอกาสพูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร - เนยแข็ง หรือ cheese board จะประกอบด้วยเนยแข็งหลายประเภท  โดยบริกรจะนํามาเสริฟ เพื่อให้ผู้รับประทานเลือก  เมื่อเลือกแล้วพนักงานจะตัดเนยแข็งเสริฟพร้อมขนมปัง  อาจเสริฟก่อนผลไม้หรือ หลังของหวานขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าภาพ

 เทคนิคพิเศษในการรับประทานอาหารชนิดต่างๆ - เนยแข็ง ตัดทีละชิ้นเล็กๆ วางบนขนมปังหรือบิสกิต  ใช้มือหยิบเข้าปาก  บางคนชอบรับประทาน ของของเนยอ่อน เช่น  camembert ซึ่งเป็นความชอบเฉพาะตัว - ปลา  มีความนิยมที่แตกต่างกันคือ แล่ปลาก่อนรับประทานหรือตัดรับประทานทีละคํา  การแล่ รับประทานง่ายกว่า  เจ้าของบ้านอาจวางจานเปล่าไว้ให้ใส่ก้าง  ถ้ามีก้างในปากให้ใช้มือหยิบออกมาอย่าง ปกปิดที่สุดแล้ววางไว้ขอบจาน  ขนมพุดดิ้งถ้าผลไม้มีเมล็ด คายอย่างไม่เปิดเผยลงในช้อนวางไว้ขอบจาน  ใน บางครั้งปลาอาจถูกเลากระดูกและก้างเรียบร้อยแล้วเรียกว่า FILLET (without bones) - ผลไม้  ผลไม้ที่มีเมล็ด เช่น องุ่น เชอรี่  ใช้วิธีรับประทานด้วยมือ  ยกมือปิดปากคายเมล็ดใส่แล้ว วางไว้ขอบจาน  ถ้าเป็นผลไม้ที่มีเมล็ดโต เช่น พีช ใช้มีดแซะเมล็ดออก  แล้วตัดผลไม้เป็นส่วนๆ ด้วยมือและ รับประทานด้วยมือ - เนื้อ  ใช้มีดเมื่อจําเป็นต้องตัด  หรือรับประทานเสต็กด้วยมีดและส้อม - หอย  ชาวอังกฤษใช้มือข้างหนึ่งจับเปลือกหอยแล้วใช้ส้อมจิ้มเนื้อเข้าปาก  ชาวฝรั่งเศสใช้เปลือก หอยเปล่าตักเนื้อหอยแทนส้อม - ถั่ว  ใช้ส้อมจิ้มถั่ว  2 -3 เมล็ด  แล้วใช้มีดเขี่ยถั่วอีกจํานวนหนึ่งขึ้นไปบนหลังส้อม หรือหงายส้อม ขึ้นแล้วตักถั่วโดยใช้มีดช่วยเขี่ยขึ้น  เมื่อตักเข้าปากแล้ววางส้อมคว่ําลงแล้วหงายขึ้นตักต่อไปอีก - พุดดิ้ง รับประทานด้วยส้อม  ไอศกรีมและ sherbet ให้ใช้ช้อน - สลัด ใช้ได้ทั้งมีดและส้อม - หอยนางรม  รับประทานสดๆ โดยใช้ส้อมหอยโดยเฉพาะ  ใช้ส้อมจิ้มทั้งตัวแล้วราดด้วยน้ํามะนาว หรือซอสค็อกเทล  รับประทานทั้งตัวในคําเดียว

กาแฟและเหล้าหลังอาหาร  อาจเสริฟที่โต๊ะหรือนอกโต๊ะอาหาร  บริกรจะรินกาแฟให้แขก  และแขกเติมน้ําตาล และครีมเอง  เหล้าหลังอาหาร  จะเสริฟทันทีหลังจากเสริฟกาแฟ  กรณีเสริฟในห้องนั่งเล่น  แก้วจะวางไว้ที่โต๊ะข้าง ฝา  ถ้าแขกอยู่ที่โต๊ะอาหารเหล้าและแก้วจะถูกเสริฟในถาด

การอําลา  ปกติแขกจะลากลับจากงานเลี้ยงอาหารแบบนั่งโต๊ะตามเวลาในบัตรเชิญ หรือเวลาในกําหนดการที่ พิมพ์ในเมนู  กรณีไม่มีกําหนดเวลาเสร็จสิ้นงานแขกควรเริ่มอําลากลับหลังจากลุกจากโต๊ะอาหารมารับประทาน เครื่องดื่มหลังอาหารประมาณ  15 – 30 นาที   สําหรับงานเลี้ยงอย่างเป็นทางการ เจ้าภาพอาจมีเทคนิคในการแสดงนัยของการจบงานเพื่อให้แขกลากลับด้วยการส่งสัญญาณให้ดนตรีหยุดแสดงหรือเปิดไฟสว่างขึ้น หรือ มีพิธีกรกล่าวปิดงาน

การขอบคุณ  นอกจากขอบคุณเจ้าภาพตอนลากลับแล้ว  แขกควรเขียนจดหมายขอบคุณในวันถัดไป  โดยกล่าวถึง จุดที่แขกพึงพอใจมากเป็นพิเศษ  (อนุโลมภายใน  1 สัปดาห์)

                                                                                                     เรียบเรียงเนื้อหาข้างต้น : สุวัจ วงษ์นุ่ม
                                                                             
                                                                     ข้อมูลอ้างอิง https://hilight.kapook.com/view/90805
                                                                                                  http://th.jobsdb.com/th/th
                       http://management.aru.ac.th/mnge/images/pdf/e-book/wanthanee/eb_chapter11.pdf

หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
---ขอบคุณครับ---

1 ความคิดเห็น: